ควมสำคัญของพัฒนาการและการเตรียมความพร้อม
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการและการเตรียมความพร้อมของเด็กปฐมวัย มีความสำคัญต่อการพัฒนาตัวเด็ก ดังนี้1. ทำให้ทราบลักษณะการเปลี่ยนแปลงและสามารถประเมินพัฒนาการของเด็กที่เกิดขึ้นในแต่ละวัย การเจริญเติบโตของเด็กจะดำเนินไปตามแบบแผนของพัฒนาการที่มีลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง และมีทิศทางที่แน่นอน พัฒนาการของเด็กที่เป็นไปตามเกณฑ์ทั่วไปของเด็กในวัยเดียวกัน แสดงว่ามีพัฒนาการสมวัย หากพัฒนาการใดไม่เป็นไปตามเกณฑ์ดังกล่าว อาจมีพัฒนาการล่าช้าหรือผิดปกติได้ จำเป็นต้องรีบค้นหาสาเหตุและแก้ไข2. ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการตามธรรมชาติของเด็กได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เด็กทุกคนมีความต้องการพื้นฐานที่สอดคล้องกับพัฒนาการทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์และจิตใจ สังคมและสติปัญญา ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการเอาในใส่ดูแลอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ จึงจะสามารถพัฒนาตนเองเต็มศักยภาพที่มีอยู่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะและประสบการณ์การเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเสริมสภาพพัฒนาการและเน้นให้เด็กมีประสบการณ์ที่กว้างขวาง3. ทำให้ยอมรับความแตกต่างของเด็กแต่ละคนตามศักยภาพส่วนบุคคล ความแตกต่างเฉพาะตัวของเด็กขึ้นอยู่กับอิทธิพลของพันธุกรรมและสภาพแวดล้อม โดยที่พันธุกรรมเป็นปัจจัยภายในที่กำหนดคุณลักษณะทางกายภาพและขีดความสามารถที่ติดตัวเด็กมาตั้งแต่กำเนิด ส่วนสภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยภายนอกที่ผันแปรศักยภาพดังกล่าวได้ สามารถพัฒนาเร็วขึ้นหรือล่าช้าได้ เด็กแต่ละคนจึงมีอัตราพัฒนาการที่แตกต่างกันและไม่อาจเปรียบเทียบศักยภาพของการพัฒนาในช่วงเวลาเดียวกันได้ การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กจึงจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงความยืดหยุ่นของลักษณะกิจกรรมและระยะเวลา4. ทำให้สามารถจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยได้สอดคล้องกับระดับความสามารถและวิธีการเรียนรู้ของเด็กในแต่ละวัย เด็กมีความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็นและสนใจสิ่งรอบตัวอยู่ตลอดเวลา การเปิดโอกาสให้เด็กดีรับประสบการณ์ตรงจากการเล่นและใช้จินตนาการตามความนึกคิด ความสนใจและความสามารถของเด็ก เป็นการกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้ รับรู้และการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างราบรื่นและการพัฒนาไปได้จนถึงขีดสูงสุด5. ทำให้สามารถวิเคราะห์ปัญหาพฤติกรรมเด็ก และแนวทางการป้องกันแก้ไขปัญหาพัฒนาการของเด็กเกิดจากการปฏิสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดและสลับซับซ้อนระหว่างพันธุกรรมและสภาพแวดล้อม หากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งหรือทั่งคู่บกพร่องและไม่อาจทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ ก็ย่อมก่อให้เกิดปัญหาความผิดปกติของพัฒนาการ อันนำไปสู่ปัญหาพฤติกรรมเด็กได้ ทั้งนี้ระดับความรุนแรงขึ้นอยู่กับความมากน้อยของปัญหา การทำความเข้าใจกับสาเหตุที่มาของปัญหา จะช่วยป้องกันมิให้ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นอีกหรือลดน้อยลงรวมทั้งสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที มิให้ลุกลามเป็นปัญหาร้ายแรงในภายภาคหน้าได้
วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2551
กิจกรรมจัดกับเด็ก
กิจกรรม เล่าไปวาดไป
การเตรียมตน
- ศึกษาการเล่าไปวาดไป จนมีความเข้าใจที่จะเล่า
- ฝึกการเล่าไปวาดไปโดยใช้ภาษาที่เด็กเข้าใจ
- เปิดใจให้กว้างรับสิ่งที่มาจากเด็ก ตรงที่เราไม่รู้
การเตรียมสื่อ
- นิทานที่จะเล่า
- กระดาษ ดินสอ
การเตรียมกิจกรรม
- เล่าไปวาดไปที่เตรียมมาให้เด็กฟัง
- จากนั้นให้เด็กได้ถามครูว่าเป็นรูปอะไร
- ให้เด็กได้รวมกันเล่าไปวาดไปกับครู
- จดบันทึกโดยการถ่ายภาพ
การเตรียมตน
- ศึกษาการเล่าไปวาดไป จนมีความเข้าใจที่จะเล่า
- ฝึกการเล่าไปวาดไปโดยใช้ภาษาที่เด็กเข้าใจ
- เปิดใจให้กว้างรับสิ่งที่มาจากเด็ก ตรงที่เราไม่รู้
การเตรียมสื่อ
- นิทานที่จะเล่า
- กระดาษ ดินสอ
การเตรียมกิจกรรม
- เล่าไปวาดไปที่เตรียมมาให้เด็กฟัง
- จากนั้นให้เด็กได้ถามครูว่าเป็นรูปอะไร
- ให้เด็กได้รวมกันเล่าไปวาดไปกับครู
- จดบันทึกโดยการถ่ายภาพ
วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
จุดเริ่มต้นทางภาษา
การพัฒนาการฟังและการพูด เริ่มต้นจากที่บ้าน การที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ที่อยู่แวดล้อมมากเพียงใด เด็กก็จะมีพัฒนาการฟังและการพูดมากเพียงนั้น เด็กทุกคนเกิดมาพร้อมกับความสามารถในการเรียนรู้ภาษาโดยเด็กจะเรียนรู้การใช้ภาษาของตนทั้งด้านความหมายประโยคและเสียงจากสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ พ่อแม่เป็นสิ่งแวดล้อมทางภาษาของเด็ก เด็กเรียนรู้ภาษาพูดโดยไม่มีแบบแผนซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติ ดังนั้นการสอนภาษาให้กับเด็กที่โรงเรียนควรสอนให้ง่ายเหมือนกับการเรียนรู้มีบ้าน เด็กที่มาจากครอบครัวที่สนใจพูดกับเด็กไม่ว่าเด็กจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจก็ตามเด็กจากครอบครัวนั้นจะสามารถแสดงออกได้มากกว่าเด็กที่มาจากครอบครัวที่พูดน้อย ทั้งนี้การที่เด็กสนทนาบ่อย ๆ ทำให้เด็กได้เรียนรู้คำศัพท์ ได้คิดได้สื่อสารได้แสดงออกซึ่งมีผลต่อพัฒนาการแสดงออก และสติปัญญารวมถึงพัฒนาการทางสังคมด้วย การพัฒนาภาษาควรเริ่มตั้งแต่เด็กปฐมวัยเพราะเป็นวัยที่มีพัฒนาทางการทางภาษาเจริญงอกงามอย่างรวดเร็ว ภาษาไม่เป็นเพียงเครื่องมือ สื่อความหมายเท่านั้นแต่ยังเป็นแนวทางในการแสดงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์การส่งเสริมให้เด็กใช้ภาษาที่ถูกต้องจึงช่วยให้เด็กสามารถแสดงความคิดความเข้าใจของตนเองให้ผู้อื่นเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น”
การเรียนรู้ภาษาของเด็กปฐมวัย
เด็กปฐมวัยเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง โดยการปฏิบัติจริงผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้าจะส่งผลต่อพัฒนาการอย่างรอบด้าน ทั้งด้านพัฒนาการการเรียนรู้ที่จะทำงานด้วยตนเอง สังคม อารมณ์ จิตใจ สติปัญญา และร่างกาย นอกจากนี้เด็กยังซึมซับเกี่ยวกับการสร้างนิสัยที่ดี และบูรณาการทั้งองค์ความรู้ เจตคติ แล้วนำไปใช้ในการดำรงชีวิต สามารถดูแลตนเอง อยู่ร่วมกันกับครอบครัว พ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชน และสังคมตามบริบทวัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ในสังคมและชุมชนนั้นๆ เมื่อมีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจนเป็นวิถีการดำรงชีวิตของเด็กไทย จึงสามารถธำรงรักษาและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยให้ยั่งยืนอยู่คู่คนไทยและชาติไทยต่อไปได้ การนี้พ่อแม่ ผู้ปกครองมีบทบาทสำคัญต่อการเชื่อมโยงทักษะชีวิตของเด็กจากห้องเรียนสู่การดำเนินชีวิตที่บ้านอย่างเป็นเอกภาพ ดังนั้นการประสานร่วมมือระหว่างพ่อแม่ ผู้ปกครอง และครู จึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องร่วมมือกันพัฒนาเด็กให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อวิถีชีวิตที่ดีงามของเด็กไทยสืบไป
ความรู้ทางภาษา
ความรู้ด้านภาษา
เด็กรู้ภาษาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ แล้วทำไม่คนมาจากภาคเหนือ ภาคกลางไม่เหมือนกันเป็นเพราะบริบทองท้องถิ่นแตกต่างกันกิจกรรมเตรียมความพร้อมตัวเองเตรียมความพร้อมในการสอนคือให้ความไว้วางใจแก่เด็กทำให้เด็กเชื่อมั่นในตัวครูส่วนกิจกรรมหลักในโรงเรียนมี6หลัก
เด็กรู้ภาษาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ แล้วทำไม่คนมาจากภาคเหนือ ภาคกลางไม่เหมือนกันเป็นเพราะบริบทองท้องถิ่นแตกต่างกันกิจกรรมเตรียมความพร้อมตัวเองเตรียมความพร้อมในการสอนคือให้ความไว้วางใจแก่เด็กทำให้เด็กเชื่อมั่นในตัวครูส่วนกิจกรรมหลักในโรงเรียนมี6หลัก
วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2551
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)